บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พระทรงเครื่อง-จักรพรรดิ-พระศรีอาริย์




มีคนเอาภาพแรกด้านบนไปตั้งกระทู้ถามในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์ว่า พระในรูปเป็นพระอะไร  ผมก็รอดูว่า จะมีใครรู้บ้างไหม  รอมา 2-3 วัน มีคนมาให้ความคิดเห็นเพียง 5 คน

นั่นก็แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้ของคนในห้องศาสนา พันธุ์ทิพย์เป็นอย่างดี  อย่างไรก็ดี มีความคิดเห็นที่พอจะนำมาเป็นแนวทางในวิพากษ์วิจารณ์ได้ คือ ความคิดเห็นที่ 2  ดังนี้

โดยทั่วไป พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ในกับป์นี้ จะไม่ทรงเครื่ิองจักรพรรดิ์ แต่ที่เห็นจะเป็นพระศรีอารย์  แต่ก็จะตามประสงค์ผู้สร้าง อาจจะมีระบุชื่อพระพุทธเจ้าที่ฐาน

ความคิดเห็นที่ 2 นี้ มีภาพประกอบด้วย คือ ภาพที่ 3 ที่ผมนำเสนอไปแล้วด้านบน

ขอประกาศไปก่อนเลยว่า  เรื่องพระในภาพดังกล่าวนั้น ไม่มีใครหน้าไหน เข้าใจและตอบได้รู้เรื่องเลย แม้แต่คนเดียว ไม่ว่าจะโกนหัว หรือไม่โกนหัว  ไม่ว่าจะผมดำ หรือผมหงอก  มีหลวงพ่อวัดปากน้ำรูปเดียวเท่านั้น ที่อธิบายได้ถูกต้อง

รูปพระดังกล่าวนั้น เป็นรูปของ “จักรพรรดิ” ซึ่งไม่ใช่พระ  

รูปของพระองค์แรกนั้นคือ "พระพุทธมหาจักรพรรดิ" เป็นพระประธานในอุโบสถวัดนางนองวรวิหาร

ส่วนรูปที่ 2 นั้น คือ “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” เป็นพระประธานในอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดอยุธยา 

โดยสรุป พระที่คนนำมาถามนั้น คนไทยเข้าใจผิดแตกต่างกันไป คือ บางท่านว่า “พระศรีอาริย์” บางท่านว่า “พระทรงเครื่อง”  บางท่านว่า “พระจักรพรรดิ”

มาเริ่มกันที่ “พระศรีอาริย์”

ขอให้ดูภาพที่ 3 ด้วย  มีคนจำนวนมากเชื่อว่า พระดังกล่าวเป็นพระศรีอาริย์ แบบดื้อๆ ด้านๆ โดยไม่มีเหตุผลอะไรประกอบเลย

ดูจากภาพที่ 3  พระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ มี 5 พระองค์  พระพุทธเจ้า 4 พระองค์แรกก็เป็นพระเหมือนกัน  แล้วองค์สุดท้ายทำไมจะต้องไปแต่งองค์ทรงเครื่องถึงขนาดนั้น

พวกนี้ เขาว่ามาอย่างไร  มันก็จำไป ว่าอย่างนั้นต่อ หาสาระอันใดมิได้

ต่อมาที่ “พระทรงเครื่อง”  

พระในภาพดังกล่าวนั้น นักวิชาการมักจะบอกว่าเป็น “พระทรงเครื่อง” ผมอ่านหนังสือของคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ หรือนักวิชาการท่านอื่นๆ ท่านก็ว่าเป็นพระทรงเครื่อง โดยไม่มีคำอธิบายประกอบเลยว่า พระทำไมไปทรงเครื่องอย่างนั้น

เรื่องพระทรงเครื่องนี้ มีนักวิชาการชาวตะวันตกท่านหนึ่ง ถามขึ้นมาว่า “พระพุทธเจ้าทรงหนีออกจากวัง เพื่อทิ้งเครื่องทรงเหล่านี้ แล้วท่านจะไปทรงเครื่องอีกทำไม

นักวิชาการชาวไทยก็ใบ้แดก  ตอบเขาไม่ได้...

ปางทรงเครื่องนี้ ตำราบางแห่งว่าเป็นปางทรมานพระชมพูบดี ฯลฯ หลายชื่อเหลือเกินแต่เกี่ยวกับพระชมพูบดี

ผมอ่านแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องแต่งขึ้นภายหลัง  ค่อนข้างมั่ว ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก จึงถือเอามาเป็นหลักฐานอะไรไม่ได้

สุดท้ายคือ “พระจักรพรรดิ”

การเดาว่า พระในภาพเป็นพระจักรพรรดินั้น ไม่ถูกนะครับ  เพราะ “จักรพรรดิไม่ใช่พระ

เอาหลักการใหญ่ๆ ก่อนเลย..

การที่จะมีผู้มาบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วนำมาสั่งสอนผู้คนบรรลุอรหันต์แล้วไปอยู่ที่อายตนะนิพานนั้น จะมี 2 ยุค  คือ ยุคของพระพุทธเจ้า กับ ยุคของจักรพรรดิ

ขอแตกต่างกันก็คือ พระพุทธเจ้าจะต้องออกบวช แต่จักรพรรดิไม่ออกบวช จักรพรรดิเป็นฆราวาส  

ยุคใดมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้  ก็จะไม่มีจักรพรรดิมาตรัสรู้  ยุคใดมีจักรพรรดิมาตรัสรู้ ก็ไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้  ไปอ่านไตรภูมิพระร่วงดูได้

ต่อไป ลงลึกในรายละเอียด

ในการสร้างบารมีของจักรพรรดินั้น ก็มี 2 แบบ คือ ประเภทแรกก็ลงทุนมาเกิด มีกายเนื้อเพื่อสร้างบารมีกันเลย  อีกประเภทหนึ่งคือ จักรพรรดิกายละเอียด 

จักรพรรดิประเภทกายละเอียดนั้น สร้างบารมีด้วยตัวท่านเองไม่ได้  ท่านจะต้องอาศัยคนเพื่อไปสร้างบารมีด้วยกัน

จักรพรรดิประเภทกายละเอียดจะไปอยู่ตามรัตนชาติ คด พระพุทธรูป พระเครื่อง ฯลฯ เมื่อไปอยู่กับใคร  ท่านก็สร้างบารมีคู่กับคนนั้น

กลับมาเข้าเรื่องของภาพดังกล่าว

ขอให้ไปดูพระภาพที่ 1-2 ใหม่อีกครั้งหนึ่ง  และให้สังเกตดูให้ดีว่า "พระพุทธมหาจักรพรรดิ" ของวัดนางนองวรวิหารนั้น  จะไม่มีรอยจีวรทางแขนซ้าย เหมือนกับ “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” ของวัดหน้าพระเมรุ

นั่นแสดงว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” ของวัดหน้าพระเมรุนั้น เมื่อก่อนเป็นพระปางมารวิชัยตามปกติ ไม่มีการทรงเครื่อง

ต่อมาภายหลังจึงได้ตกแต่งใหม่ คือ รื้อเอาจีวรออกไป แล้วเอาเครื่องทรงมาใส่ไว้แทน

พระทรงเครื่องแบบนี้ มีเฉพาะในเมืองไทย และเป็นที่นิยมมากตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ต่อเนื่องมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์

ปัจจุบันนี้ ก็ได้รับความนิยมขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ผมสันนิษฐานว่า  ในสมัยอยุธยาจะต้องมีคนปฏิบัติธรรมเก่ง จนรู้ว่าในพระประธานในโบสถ์นั้น มีกายเป็นอย่างไร  รู้ละเอียดเสียด้วย  ท่านจึงเอาจีวรออก แล้วนำเครื่องทรงไปใส่ไว้

นอกจากนั้นแล้ว ยังขอให้ผู้อ่านไปดูการแต่งตัวของละครในเรื่องรามเกียรติ์  ผมก็ว่า น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องทรงของจักรพรรดินี่แหละ

รามเกียรติ์นี่ ทางเอเชียรับมาจากอินเดีย เครื่องแต่งกายของไทยหรูหราอลังการที่สุด เคยดูของอินโดนีเซีย หนุมานยังเป็นลิงอยู่เลย






6 ความคิดเห็น:

  1. โอย โขนของอินโด พระรามอย่างเถื่อน กล้ามโตๆ ตัวใหญ่ๆ แทบจะจับยักษ์กิน ผิดกับของไทย

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ8 เมษายน 2559 เวลา 08:35

    สรรพสิ่งมีอะตอม ซึ่งมีนิวเคลียสตรงกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบๆเสมอ อะตอม ณ จุดอิเล็กตรอนอยู่ล่าสุด ก็มีคุณลักษณะไม่เหมือนกับ ณ จุดอิเล็กตรอนอยู่ก่อนหน้านี้ หรือทุกการวิ่งวนคุณลักษณะอะตอมและทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอด
    .ร่างคน มีระบบอวัยวะ อวัยวะ เนื้อเยื่อ เซล โมเลกุล เล็กสุดคืออะตอมทั้งหลาย ด้วยคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปรากฏการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การย่อยสลาย หากคงที่ เด็กทารกเกิดมาได้ยังงัย แล้วสภาพทารกตอนนี้ไปใหน
    .จิตใจมีร่างกายเป็นภาครับรู้ภาคคิดจำคำนวณภาคแสดง ความรู้สึกนึกคิด เปลี่ยนแปลงเสมอ มีทั้ง โกรธ ขัดเคือง ชัง ชอบ เศร้า รัก ฯ เปลี่ยนทุกครั้งที่ทวารต่างๆสัมผัสสรรพสิ่งรวมทั้งความจำ
    .สรรพสิ่ง ร่างกาย จิตใจ เปลี่ยนแปลงเป็นนิจ เปลี่ยนอยู่เสมอ เปลี่ยนตลอดเวลา ...เปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยน...มีแต่การเปลี่ยนเท่านั้น เป็นอยู่อย่างนั้น เป็นของบริสุทธิดั้งเดิมไม่อยู่ภายใต้อำนาจของอะไร เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจความต้องเป็นอยู่หรือภายใต้ความดับสูญอย่างอิสระแท้จริง เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองอย่างสมบูรณ์แท้จริง เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการเปลี่ยนแปลงอย่างนอกเหนือแท้จริง อันคือสภาวะถาวร อมตะ อนันต์ นิรันดร ว่าง เหมือนมีแต่ไม่มีตัว พระพุทธเจ้า พระเจ้า

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ10 เมษายน 2559 เวลา 07:22

    งานวัด ตลาดนัด งานEXPO ฟังเพลง แปรงฟัน กินข้าว ประชุม หายใจ อาบน้ำ ซักผ้า ช่องจอดรถ เดินฯลฯ มองดูเหมือน สิ่งแวดล้อม ชีวิต ความรู้สึก นึกคิด

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ10 เมษายน 2559 เวลา 07:22

    คนเป็นสิ่งสูงสุด เพียงสน ใจ ตัว เอง

    ตอบลบ
  5. ท่านเป็นคนศึกษาพุทธประวัติหรือเป็นคนไฝ่รู้เรื่องของเก่าครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมเป็นวิทยาสอนปฏิบัติธรรมตามสายวิชาธรรมกาย ของมูลนิธิศึกษาการุณย์

      ลบ